คลิกเพื่อสมัครเข้าร่วมคัดเลือก https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfL5M-yeNs9bhEyXa4Cdil53_H11i4eiwqPfGlDdSLYM7qNvQ/viewform
คลิกเพื่อสมัครเข้าร่วมคัดเลือก https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfL5M-yeNs9bhEyXa4Cdil53_H11i4eiwqPfGlDdSLYM7qNvQ/viewform
ปัจจุบันสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งภาวะโลกร้อน น้ำท่วม ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ความแห้งแล้ง และปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ทำให้เกิดความสูญเสียด้านความหลากหลายทางชีวภาพทั้งนานาประเทศทั่วโลก ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้คือ การทำกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) เพื่อป้องกันและควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงเป็นที่มาของแนวคิด Carbon Footprint หรือ รอยเท้าคาร์บอน คือ ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ที่ปล่อยออกมาในชั้นบรรยากาศเนื่องจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวัน การคมนาคมขนส่ง การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค การเลี้ยงสัตว์ หรือแม้กระทั่งของเสียที่เกิดจากอาหารในแต่ละวัน ฯลฯ การลดรอยเท้าคาร์บอนทำได้โดยการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้พลังงานหมุนเวียน การลดการใช้ทรัพยากร และการปรับปรุงกระบวนการผลิตต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยเหตุนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ จุฬาฯเรดิโอพลัส จึงได้ร่วมกับ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) จัดโครงการ Green Mission by Chula X Gulf : ภารกิจรักษ์ยั่งยืน ภายใต้หัวข้อ“Beware Your Step: ก้าวต่อไป ไร้รอยเท้า” เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถต่อยอดและนำเสนอแนวทางการจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยการส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพยั่งยืน และสามารถเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อการก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำร่วมกัน
2.1 เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ เกี่ยวกับสภาพปัญหา ความสำคัญ และแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามบริบททางสิ่งแวดล้อม และสังคม-วัฒนธรรมของประเทศไทย
2.2 เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในบริบทที่เหมาะสม สำหรับเยาวชน และประชาชนทั่วไป ผ่านโครงการฯ และสื่อประชาสัมพันธ์ของโครงการฯ
เยาวชนอายุ 15-18 ปี จากทุกภูมิภาคของประเทศไทย ส่งใบสมัครเป็นทีมๆละ 3 คน พร้อมตอบคำถามเพื่อรับการคัดเลือก
4.1 รับสมัครเป็นทีม โดยใน 1 ทีมประกอบไปด้วยสมาชิก จำนวน 4 คน ประกอบด้วย
(1) นักเรียน (เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ไม่เกินระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า และมีอายุไม่เกิน 18 ปี) จำนวน 3 คน
(2) ครูและ/หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ จำนวน 1 คน โดยทีมที่ต้องการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ จะต้องกรอกข้อมูลและตอบคำถามในใบสมัครให้ครบถ้วน และส่งใบสมัครภายในวันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน 2567 ทั้งนี้ผู้สมัคร 1 คน สามารถเป็นสมาชิกทีมได้เพียง 1 ทีมเท่านั้น
4.2 คัดเลือกทีมผู้สมัครจากการตอบคำถามในใบสมัคร จำนวน 20 ทีมเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 20 ทีม (จำนวน 80 คน) เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ ของโครงการ Green Mission by Chula X Gulf ภารกิจรักษ์ยั่งยืน หัวข้อ “Beware Your Step: ก้าวต่อไป ไร้รอยเท้า” เป็นเวลา 4 วัน 3 คืน ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี (ทั้งนี้ผู้สมัครแต่ละทีมจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเข้าร่วมอบรมและค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนา)
ประกาศผลการคัดเลือก 20 ทีม วันที่ 7 ตุลาคม 2567
ทีมที่ผ่านการคัดเลือก 20 ทีม เข้าร่วมกิจกรรม ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.สระบุรี
วันที่ 22 ตุลาคม 2567 เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันที่ 22-24 ตุลาคม 2567 อบรม Boot Camp
วันที่ 25 ตุลาคม 2567 การแข่งขัน Hackathon รอบชิงชนะเลิศ
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 20 ทีมจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกาเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกระบวนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization) ของโครงการฯ จึงจะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ
4.3 การคัดเลือกทีมผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย จำนวน 8 ทีม ผ่านแบบทดสอบภายในกิจกรรมโดยใช้เกณฑ์ตัดสิน ดังนี้
ความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การคิดเชิงวิเคราะห์และการจัดการกับสถานการณ์เฉพาะหน้า
การสร้างการมีส่วนร่วม
ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
4.4 การแข่งขันการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน (Hackathon) รอบชิงชนะเลิศ
ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
(1) ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายทั้ง 8 ทีมจะต้องเข้าร่วมการแข่งขันการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน (Hackathon) รอบชิงชนะเลิศ
(2) คณะกรรมการโครงการฯ ตัดสินผลการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศจากการนำเสนอผลการดำเนินงาน (oral presentation) โดยมีเกณฑ์ในการตัดสิน ดังนี้
ความรู้ ความเข้าใจ ด้านการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (15%)
แนวทางการจัดการ และนวัตกรรม สามารถนำไปใช้ได้จริง (20%)
แนวทางการจัดการ และนวัตกรรม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในบริบทอื่น (20%)
ความโดดเด่นของแนวทางการจัดการ และนวัตกรรม (30%)
ความน่าสนใจของการนำเสนอ (15%)
หมายเหตุ การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
รางวัลที่ 1: เงินรางวัล 40,000 บาท จำนวน 1 รางวัล พร้อมประกาศเกียรติคุณ
รางวัลที่ 2: เงินรางวัล 20,000 บาท จำนวน 1 รางวัล พร้อมประกาศเกียรติคุณ
รางวัลที่ 3: เงินรางวัล 10,000 บาท จำนวน 1 รางวัล พร้อมประกาศเกียรติคุณ
รางวัลชมเชย: เงินรางวัลทีมละ 5,000 บาท จำนวน 5 รางวัล พร้อมประกาศเกียรติคุณ
รางวัล Popular Vote by Gulf : เงินรางวัล 10,000 บาท จำนวน 1 รางวัล
รางวัลรวมมูลค่า 105,000 บาท
เดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2567
เปิดรับสมัครวันที่ 1 สิงหาคม 2567
ปิดรับสมัคร วันที่ 30 กันยายน 2567
ประกาศผลการคัดเลือก 20 ทีม วันที่ 7 ตุลาคม 2567
ทีมที่ผ่านการคัดเลือก 20 ทีม เข้าร่วมอบรม Boot camp และแข่งขัน Hackathon วันที่ 22-25 ตุลาคม 2567
คุณวลีรัตน์ มีกุล โทร 02 218 0685 waleerat.m@chula.ac.th
คุณอติภา ต่วนชื่น โทร 02 218 0686 atipa.t@chula.ac.th
Inbox Facebook/curadio
Facebook/EnviInsider
Line@chularadioplus
คลิกเพื่อสมัครเข้าร่วมคัดเลือก https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfL5M-yeNs9bhEyXa4Cdil53_H11i4eiwqPfGlDdSLYM7qNvQ/viewform
บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)