ระบบการศึกษา ในช่วงที่้เชื้อไวรัสโควิด-19 ระบาด เป็นช่วงเวลาที่ต้องตั้งหลักของทั้งครู นักเรียน และผู้ปกครอง อาจจะต้องมีการพูดคุยกัน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันในช่วงก่อนเปิดภาคเรียน ขณะเดียวกันการปรับเปลี่ยนการสอนในเด็กเล็ก ที่ผ่านมาคุณครูหลายคนได้ปรับเปลี่ยนการสอน ทั้งในรูปแบบใบงาน เกมส์ ให้เป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันระหว่างเด็ก และผู้ปกครอง แต่ต้องยอมรับว่าเด็กในประเทศไทยไม่ได้อยู่ด้วยกันกับผู้ปกครองตลอดเวลา จึงต้องให้บุคคลอื่นเข้ามาช่วยดูแล เช่น พี่ หรือญาติผู้ใหญ่ในบ้าน
บทบาทของมหาวิทยาลัย ในช่วงที่เกิดการระบาดเป็นวงกว้าง เป็นโอกาสที่กลุ่มมหาวิทยาลัยที่มีคณะครุศาสตร์ หารือร่วมกัน และใช้ช่วงเวลาที่นิสิต นักศึกษา ลงพื้นที่ฝึกสอน โดยมีอาจารย์ติดตามลงพื้นที่ด้วย ดังนั้นเป็นโอกาสในการดึงพลังอาจารย์ของมหาวิทยาลัย ให้มีโอกาสได้ออกแบบหลักสูตรที่มีการรองรับการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์
การปรับตัวของสถาบันการศึกษา จะต้องมีการถอดบทเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมการเรียนการสอนรองรับวิกฤตโรคระบาด ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ สำหรับพื้นที่ห่างไกล ถือเป็นอีกพื้นที่ที่ต้องให้ความสำคัญ ซึ่งการออกแบบการเรียนการสอนในสถานการณ์นี้ควรเป็นแบบ “Remote Learning” หรือโมเดลการศึกษาที่ครอบคลุมได้ทุกพื้นที่ ที่ครอบคลุมทั้งการเรียนออนไลน์และออฟไลน์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตามความพร้อมและความเหมาะสม
----------------------
รายการ ปรับมุมคิด ก้าวข้ามวิกฤติชาติ
วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม 2564
วิทยากร : ผศ.ดร.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรับมุมคิด ก้าวข้ามวิกฤติชาติ : ปรับมุมคิดในวันที่เด็กไทยต้องเรียนออนไลน์เพราะโควิด-19
- รายการปรับมุมคิด ก้าวข้ามวิกฤตชาติ
