ความรับผิดชอบของสมาชิกรัฐสภา และปมความขัดแย้งทางการเมือง

- การเมืองเรื่องน่ารู้

รับฟังเสียง


ความรับผิดชอบของสมาชิกรัฐสภา และปมความขัดแย้งทางการเมือง

"การเมืองเรื่องน่ารู้ " : เสาร์ที่ 11 กันยายน 2564
โดย รศ.ตระกูล มีชัย
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
: ความรับผิดชอบของสมาชิกรัฐสภา และปมความขัดแย้งทางการเมือง

- ส่วนตัวรู้สึกว่าหดหู่ใจกับการประชุมรัฐสภานั้นต้องล่มลงไปในวันที่ 10 กันยายน หลังจากที่พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ทำให้นายชวน หลีกภัย
- ประธานรัฐสภาระบุว่า "จะทำอะไรก็ตาม อยู่ที่ความรับผิดชอบของเรา ไม่ว่าเราจะใช้วิธีไหนก็ตาม หากเราขาดความรับผิดชอบ ก็จะมีปัญหา แต่ไม่บ่อยครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งแรกของการประชุมรัฐสภา ปกติการประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีบ่อย แต่ประชุมรัฐสภาไม่ค่อยมีปัญหา เพราะสมาชิก ส.ว. จะประชุมพร้อม ส.ส. แต่ครั้งนี้สมาชิกขาดมากกว่าในตอนหลัง ทำให้สมาชิกไม่ครบ"
- ส่วนวิปวุฒิสภานั้นยืนยันว่า สมาชิก ส.ว. ทำงานอย่างเต็มที่ มีผู้เข้าร่วมประชุม 164 คน ยืนยันว่า ส.ว.ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
- แต่ในความเห็นส่วนตัวแล้ว มองว่าผิดหวังกับการทำงานของวุฒิสภา จะต้องมีความรับผิดชอบสูงกว่า ส.ส. แม้ว่าจะมี 164 คนก็ตาม แต่ก็ต้องทำงานอย่างเต็มที่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
- ส่วน ส.ส.ยิ่งผิดหวังมากขึ้น เพราะการทำงานของ ส.ส. ต้องบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน แต่ไม่เคยได้รับความรับผิดชอบจากส่วนนี้ด้วย
- พร้อมมองว่า ในเรื่องความรับผิดชอบถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ต้องเกิดการแก้ไขตรงจุดนี้ หากไม่แก้ไขสภาจะไม่เป็นสถาบันทางการเมืองซึ่งเป็นที่พึ่งของประชาชนต่อไป
- ขณะเดียวกันประเด็นที่คือการรวมกลุ่มทางการเมืองและแย่งชิงอำนาจทางการเมือง ในอดีตที่ผ่านมาก็เคยเกิดขึ้น และเคยเป็นประเด็นมาโดยตลอด
- ซึ่งจากการลาออกของรัฐมนตรีช่วยสองคนนั้น ทำให้เห็นภาพการแย่งชิงทางการเมืองระหว่างกลุ่มการเมืองที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งหลังจากนี้เป็นสิ่งที่ต้องจับตาว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป

การเมืองเรื่องน่ารู้

0 results

(Live)