• เรื่องเล่าจากความทรงจำถึง ศ.ดร.สมศักดิ์ ชูโต ผู้วางรากฐานการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นาที 3.25)
• อิสราเอล-ปาเลสไตน์-ฮามาส: มนุษยธรรมและความยุติธรรมต้องมีมาตรฐานเดียวกัน สันติภาพจึงจะบังเกิด (นาที 12.30)
อิสราเอล-ปาเลสไตน์-ฮามาส: ไม่มีความยุติธรรมก็ไม่มีสันติภาพ (นาที 12.30)
สรุปสถานการณ์อิสราเอล-ฮามาส-ปาเลสไตน์ (ตั้งแต่ 7 ต.ค) การโจมตีของฮามาสและการตอบโต้ของอิสราเอลแนวการวิเคราะห์ต่อคำถาม
1. หนทางแห่งสันติภาพจะมีวันเกิดขึ้นบนดินแดนแถบนี้หรือไม่
2. สหรัฐเริ่มมีความเห็นแตกแยก ที่ผ่านมาสหรัฐหนุนหลังอิสราเอล แต่กรณีนี้เริ่มมีกระแสเห็นใจปาเลสไตน์และต่อต้านอิสราเอล (แม้ฮามาสเริ่มโจมตีก่อน แต่อิสราเอลก็โต้กลับเกินกว่าเหตุ)
ในสงครามก็มีกฎกติกา (นาที 17)
ต้องเข้าใจก่อนว่า การทำสงครามก็มีกฎกติกาและการตอบโต้ก็ต้องได้สัดส่วน• กฎหมายอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการทำสงคราม เพื่อให้พลเรือนได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากสงคราม
• เหตุผลหนึ่งที่กฎหมายระหว่างประเทศไม่ได้ผล เพราะสหประชาติไม่ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง
• อาชญากรรมสงครามคืออะไร (เปรียบเทียบสิ่งที่อิสราเอลกำลังทำกับปาเลสไตน์)
• ทำไมสหประชาติแทบจัดการอะไรไม่ได้เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ
สหรัฐ-อิสราเอล ความสัมพันธ์แบบไฟต์บังคับ (นาที 30.20)
สหรัฐตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก เพราะความสัมพันธ์กับอิสราเอลเป็นเรื่องบังคับ ไม่ว่าจะผิดจะถูกก็ต้องสนับสนุนเพราะกลุ่มอิทธิพลของยิวในการเมืองสหรัฐ แต่ปัจจุบันชาวอเมริกัน-อาหรับก็เริ่มมีบทบาทสำคัญขึ้นมา• เกิดความเห็นที่แตกแยกในสหรัฐและการวางตัวของผู้นำสหรัฐต่อกรณีการตอบโต้ของอิสราเอล
• จุดประสงค์ของทุกรัฐบาลอิสราเอล (ไม่ว่าจะสายพิราบหรือสายเหยี่ยว) คือต้องจำกัดความสามารถทางทหารและการปกครองของฮามาสในฉนวนกาซาให้ได้ แต่เรื่องนี้ไม่ง่าย เพราะอิสราเอลมีข้อจำกัดในเรื่องการทำสงครามระยะยาว [Ehud Barak อดีตนายกรัฐมนตรีอิสราเอล]
หากยังมีความคิดสุดโต่ง ความขัดแย้งก็จะยังแก้ไม่ได้ (นาที 39.20)
ปัญหาความขัดแย้งจะไม่มีวันจบถ้ายังมีพวกความคิดสุดโต่งจากทั้งกลุ่มฮามาสและอิสราเอลที่ประกาศว่า 'เราจะไม่อยู่ร่วมโลกกัน'• สรุปต้นตอความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ตั้งแต่หลังสงครามโลกที่สอง
• เกิดข้อตกลงออสโลในปี 1993 เพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์
• แต่พอ Benjamin Netanyahu เป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอล ก็ไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงนี้
• ข้อตกลงออสโล (Oslo Accords) จุดเริ่มต้นแผนสันติภาพระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์
• ดูเหมือนเนทันยาฮูกำลังฉกฉวยประโยชน์จากสงครามนี้ เพื่อเบี่ยงเบนประเด็นความผิดพลาดและปัญหาการเมืองภายในอิสราเอล
• มีการพูดกันว่าที่ฮามาสเข้มแข็ง เพราะเนทันยาฮูและสหรัฐสนับสนุน
• ผลสำรวจออกมากว่าชาวปาเลสไตน์ยอมรับ Two-state solution มากกว่าคนอิสราเอล
• ถ้าต่างฝ่ายต่างเรียกร้องความยุติธรรมอย่างไม่ลดราวาศอก ไม่ประนีประนอม ไม่สนเรื่องมนุษยธรรมใดๆ ข้อตกลงสันติภาพคงไม่มีวันเกิดขึ้นได้เลย [Yuval Noah Harari นักประวัติศาสตร์ นักเขียนชาวอิสราเอล]
• ทางออกของความขัดแย้งยังมี
แนะนำหนังสือเพื่อเข้าใจการเมืองโลก (นาที 64.10)
1. หนังสือ การหวนคืนของการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ: ประชาธิปไตยปะทะเผด็จการ จากโลกโบราณถึงสหรัฐกับจีน2. หนังสือ สมรภูมิพลิกอำนาจโลก ท่ามกลางภูมิรัฐศาสตร์แห่งความขัดแย้ง ระเบียบโลกและไทยจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด | ผู้เขียน ปิติ ศรีแสงนาม และ จักรี ไชยพินิจ
3. หนังสือ วิถีแห่งโพธิกาล: ชาติ ชนชั้น เศรษฐกิจและการปกครอง | ผู้เขียน ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์
รายการรัฐศาสตร์สู่สังคม วันเสาร์ 11.00 น. Chula Radio Plus
ศาตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู และ ผศ.ดร.ปราณี ทิพย์รัตน์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย