เฮนรี คิสซิงเจอร์ (1923-2023) ผู้สร้างดุลแห่งอำนาจของมหาอำนาจหรือสร้างจุดด่างบนการเมืองโลก

- รัฐศาสตร์สู่สังคม

รับฟังเสียง


เฮนรี คิสซิงเจอร์ (1923-2023) ผู้สร้างดุลแห่งอำนาจของมหาอำนาจหรือสร้างจุดด่างบนการเมืองโลก

[1] โรซาลีนน์ คาร์เตอร์ (1927-2023) ลมใต้ปีกที่สำคัญของอดีตประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ (นาที 4)

[2] เฮนรี คิสซิงเจอร์ (1923-2023) ผู้สร้างดุลแห่งอำนาจของมหาอำนาจหรือสร้างจุดด่างบนการเมืองโลก (นาที 12.25)

[1] โรซาลีนน์ คาร์เตอร์ (1927-2023) ลมใต้ปีกที่สำคัญของอดีตประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ (นาที 4)
• พูดถึงลูกสาวและสามี (จิมมี คาร์เตอร์)
• โรซาลีนน์ คาร์เตอร์ ต้นแบบการทำงานของสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งสหรัฐในเวลาต่อมา
• โรซาลีนน์ คาร์เตอร์ คู่ทุกข์คู่ยากที่เปรียบเสมือนลมใต้ปีกที่สำคัญของอดีตประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์
[2] เฮนรี คิสซิงเจอร์ ผู้สร้างดุลแห่งอำนาจของมหาอำนาจหรือสร้างจุดด่างบนการเมืองโลก (นาที 12.25)
• 100 ปี เฮนรี คิสซิงเจอร์ (1923-2023)

• เมื่อครั้งที่ฮิลลารี คลินตัน และ เบอร์นี แซนเดอร์ส เป็นคู่แข่งในการเลือกตั้งขึ้นต้น ขณะที่ฮิลลารีชื่นชมคิสซิงเจอร์ เบอร์นีกลับให้ความเห็นว่าการดำเนินนโยบายต่างประเทศของคิสซิงเจอร์สร้างความหายนะให้กับการเมืองสหรัฐมากที่สุด

• การดำเนินนโยบายต่างประเทศของคิสซิงเจอร์สมัยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ถูกวิจารณ์ว่าเอาหูไปนาเอาตาไปไร่บ้าง มือเปื้อนเลือดบ้าง

• เหตุการณ์ที่ทำให้คิสซิงเจอร์ถูกกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไร้หัวใจและละเมิดสิทธิมนุษยชน

คำอธิบายถึงแนวคิดการสร้างสันติภาพและระเบียบโลกของคิสซิงเจอร์ (นาที 23.25)

• สหรัฐเปิดความสัมพันธ์กับจีน จุดเปลี่ยนการเมืองระหว่างประเทศที่สำคัญยุคสงครามเย็น ทำให้จีนเข้ามามีบทบาทในเวทีโลก

• เบรซซินสกี (Zbigniew Brzezinski) คู่แข่งและคู่กัดคิสซิงเจอร์

• [คิสซิงเจอร์] แทนที่จะไปเปลี่ยนแปลงการเมืองภายในของประเทศอื่น (จะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ไม่ต้องสนใจ) สหรัฐควรทำอย่างไรให้ประเทศมหาอำนาจอื่นอยู่ภายใต้ระเบียบโลกเพื่อให้เกิดเสถียรภาพ และเงื่อนไขสันติภาพจะตามมา โดยเฉพาะประเด็นเรื่องอาวุธนิวเคลียร์

• แนะนำหนังสือ Leadership: Six Studies in World Strategy ผู้เขียน Henry Kissinger

• แนะนำหนังสือ A World Restored: Metternich, Castlereagh and the Problems of Peace, 1812-22 ผู้เขียน Henry Kissinger

• "ไม่มีมิตรแท้ ไม่มีศัตรูถาวร มีแต่ผลประโยชน์เท่านั้นที่แท้และถาวร เรามีหน้าที่ต้องทำเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเรา" Lord Palmerston นายกรัฐมนตรีอังกฤษศตวรรษที่ 19

แม้คิสซิงเจอร์ถูกมองว่าไร้หัวใจและละเมิดมนุษยธรรม แต่ในอีกมุม ถ้าไม่มีใครริเริ่มเปิดความสัมพันธ์กับจีน พาจีนเข้าสู่ประชาคมโลก ระเบียบโลกทุกวันนี้อาจวุ่นวายมากกว่านี้ก็ได้ (นาที 41.40)

• คิสซิงเจอร์มีบทบาทที่ทำให้สหรัฐและสหภาพโซเวียตเจรจาจำกัดอาวุธนิวเคลียร์ และเป็นจุดเริ่มต้นของสนธิสัญญาเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ในเวลาต่อมา

• หากสนใจนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ ทำไมอยากให้อ่านหนังสือของเฮนรี คิสซิงเจอร์

• สงคราม ประวัติศาสตร์ และการเมืองฝรั่งเศสจากภาพยนตร์เรื่อง "นโปเลียน"

• สรุปบทเรียนจากคิสซิงเจอร์
รายการรัฐศาสตร์สู่สังคม วันเสาร์ 11.00 น. Chula Radio Plus
ศาตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู และ ผศ.ดร.ปราณี ทิพย์รัตน์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัฐศาสตร์สู่สังคม

(Live) รายการ ยิ้มแย้มแก้มใส