ศึกษาหลักคิดและหลักนิติธรรม (Rule of Law) จากระบบการเมืองและการเลือกตั้งสหรัฐ
[1] ทรัมป์จะมีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองจากการกระทำผิดทางอาญาหรือไม่ (นาที 4.25)
[2] การเลือกตั้งขั้นต้นที่มิชิแกน การส่งสัญญาณเตือนถึงไบเดน (นาที 45.35)
[3] แนะนำหนังสือ สงครามรัสเซีย ยูเครน และการเมืองเปรียบเทียบ (นาที 59.55)
ระบบการเมืองและเลือกตั้งสหรัฐเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ แม้จะเป็นระบบประธานาธิบดีซึ่งแตกต่างจากไทย แต่ในแง่หลักคิดด้านการเมือง หลักกฎหมาย หลักนิติธรรม มีความเป็นสากล
[1] ทรัมป์จะมีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองจากการกระทำผิดทางอาญาหรือไม่ (นาที 4.25)
22 เมษายน 2024 ศาลสูงสุดสหรัฐเตรียมพิจารณาว่าอดีตประธานาธิบดีทรัมป์สามารถได้รับการยกเว้นโทษจากคดีความพยายามล้มล้างผลเลือกตั้งได้หรือไม่ ทั้งที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินไปแล้วโดยใช้หลักการที่ว่า "ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย"• ทำไมศาลสูงสุดรับเรื่องทั้งที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินไปแล้ว
• ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง แม้จะมีนโยบายไม่ดำเนินคดีกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่ไม่ใช่ไม่มีการไต่สวนเพื่อตัดสินคดี
ประเด็นสำคัญในกรณีของทรัมป์ 1. แม้จะเป็นผู้นำฝ่ายบริหารก็ไม่มีสิทธิ์อยู่เหนือกฎหมาย และความผิดที่ทรัมป์ทำระหว่างปฏิบัติหน้าที่ประธานาธิบดีก็ไม่เกี่ยวกับนโยบายและการบริหารประเทศ 2. ความสำคัญของกระบวนการถ่วงดุลอำนาจและการตรวจสอบได้ (นาที 17.35)
• ทรัมป์พยายามชะลอการไต่สวนคดีให้นานที่สุด คดีแพ่งและอาญาของทรัมป์ยาวเป็นหางว่าว
• ในระหว่างที่ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งมีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองจากการกระทำผิดทางอาญาหรือไม่ ตัวอย่างคดีวอเตอร์เกตกับอดีตประธานาธิบดีนิกสัน
• ทำไมเราต้องให้ความสนใจคดีอาญาของทรัมป์
[2] การเลือกตั้งขั้นต้นที่มิชิแกน การส่งสัญญาณเตือนถึงไบเดน (นาที 45.35)
แม้ไบเดนและทรัมป์จะชนะการเลือกตั้งขั้นต้นที่มิชิแกน แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ 1. Uncommitted Vote จากกลุ่มอเมริกันเชื้อสายอาหรับที่ต้องการประท้วงไบเดนต่อกรณีการสนับสนุนอิสราเอลถล่มฉนวนกาซา 2. ทรัมป์มีคะแนนนำนิกกี เฮลีย์ คู่แข่งคนสำคัญอย่างถล่มทลาย• ความสำคัญของรัฐมิชิแกนนอกจากเป็น Swing state แล้ว ยังเป็นรัฐที่คนอเมริกันเชื้อสายอาหรับมากที่สุดในประเทศ ซึ่งขณะนี้ไม่พอใจไบเดนที่สนับสนุนอิสราเอล ถ้าคนกลุ่มนี้ไม่มาลงคะแนนให้ไบเดนในเดือนพฤศจิกายน โอกาสที่ทรัมป์จะชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีมีสูงมาก
• ทำไมนิกกี เฮลีย์ ยังแข่งกับทรัมป์ทั้งที่แพ้คะแนนมาตลอด
• ภาพลักษณ์อิสราเอลยับเยินจากการถล่มฉนวนกาซาโดยไม่แบ่งแยกทหารและพลเรือน แผนการควบคุมฉนวนกาซาและเขตเวสต์แบงก์ของอิสราเอล และการไม่เห็นพ้องต้องกันของผู้นำสหรัฐและอิสราเอล (นาที 54.10)
[3] แนะนำหนังสือ สงครามรัสเซีย ยูเครน และการเมืองเปรียบเทียบ (นาที 59.55)
1. การเมืองเปรียบเทียบ: ทฤษฎี แนวคิด และกรณีศึกษา ผู้เขียน: ไชยวัฒน์ ค้ำชู และ นิธิ เนื่องจำนงค์2. สงครามยูเครน: สงครามร้อนแรกในสงครามเย็นใหม่ ผู้เขียน: สุรชาติ บำรุงสุข
3. War and Punishment ผู้เขียน Mikhail Zygar
4. Russia's War ผู้เขียน Jade McGlynn รายการรัฐศาสตร์สู่สังคม วันเสาร์ 11.00 น. Chula Radio
ศาตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู และ ผศ.ดร.ปราณี ทิพย์รัตน์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย