มองการเลือกตั้ง 2024 ที่สำคัญในเอเชีย นั่นคือ อินโดนีเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ กับประเด็นคำถาม
1. ประชาธิปไตยที่ดูเหมือนกำลังเสื่อมถอยในประเทศตะวันตก แต่ทำไมดูท่าจะไปได้ดีในภูมิภาคเอเชีย
2. เปรียบเทียบประชาธิปไตยในระบบที่แตกต่าง ส่งผลต่อความก้าวหน้าหรือเสื่อมถอยอย่างไร
เดินหน้าสู่ประชาธิปไตย (นาที 4)
• หนังสือ "การเมืองเปรียบเทียบ: ทฤษฎี แนวคิด และกรณีศึกษา" เปรียบเทียบระบบประชาธิปไตยที่แตกต่างในเอเชีย ผ่านกรณีศึกษา 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไทย• ความแตกต่างของประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดีและรัฐสภา และระบบประธานาธิบดีของเอเชียก็แตกต่างจากของสหรัฐ
• เงื่อนไขตามทฤษฎีที่ทำให้ประเทศนั้นเป็นประชาธิปไตย ที่น่าสนใจคือหลายประเทศในเอเชียมีเงื่อนไขเหล่านี้ไม่ครบ แต่ทำไมประชาธิปไตยยังพัฒนาได้
• หลังจากอินเดียได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ ทำไมอินเดียเป็นประชาธิปไตยมาตลอด ไม่ออกนอกลู่นอกทางเลย
• อินโดนีเซียเป็นประชาธิปไตยเมื่อประมาณปี 1998 หลังจากนั้นประชาธิปไตยในอินโดนีเซียก็เป็นไปอย่างสันติมาโดยตลอด ส่วนเกาหลีใต้เป็นประชาธิปไตยเมื่อปี 1978 ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเป็นรัฐบาลทหาร แต่พอเป็นประชาธิปไตยแล้วก็ไม่หวนกลับเป็นอย่างเดิม
ประชาธิปไตยที่ไม่ออกนอกลู่นอกทาง (นาที 16)
ปัจจัยอะไรที่ทำให้อินโดนีเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ สามารถเปลี่ยนผ่านและเดินหน้าตามวิถีประชาธิปไตยได้อย่างแน่วแน่ ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจและน่าเรียนรู้คือประเทศเหล่านี้ปกครองโดยทหารมาก่อน• อินเดีย ประชาธิปไตยในประเทศที่ประชากรพันกว่าล้านคน
• อินโดนีเซีย ประชาธิปไตยจากประเทศที่เคยปกครองโดยทหารมาก่อน
• สรุป ปัจจัยที่ทำให้ประเทศใดเป็นประชาธิปไตย เงื่อนไขของประเทศตะวันตกกับเอเชียมีความต่างกัน
• จุดอ่อนของการใช้ปัจจัยทางวัฒนธรรมวิเคราะห์ว่าประเทศใดจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่
• ไม่มีประชาธิปไตยประเทศไหนที่สมบูรณ์แบบ
วิเคราะห์การเลือกตั้งอินโดนีเซีย 2024 (นาที 30.25)
• การเปลี่ยนแปลงการเมืองภายในของอินโดนีเซียสำคัญต่อไทยและอาเซียน• ความทะเยอทะยานเพื่อสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างความเข้มแข็งทางทหาร และการดำเนินนโยบายต่างประเทศของอินโดนีเซีย
• การที่ภาคประชาสังคมของอินโดนีเซียเข้มแข็งก็เป็นส่วนช่วยสนับสนุนแนวทางประชาธิปไตย
การเลือกตั้งเกาหลีใต้ 2024 สำคัญอย่างไร (นาที 48.15)
• ประชาธิปไตยจะมั่นคงยั่งยืนได้ Rule of Law เป็นเรื่องสำคัญ• ทำไมทหารในอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ อินเดีย ยอมลดบทบาทเพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ประชาธิปไตย
จับตาการเลือกตั้งอินเดีย 2024 (นาที 57.40)
โมดีจะได้กลับมาเป็นสมัยที่สามหรือไม่ และวิเคราะห์สถานการณ์พรรคฝ่ายค้านของอินเดียแนะนำหนังสือ (นาที 62.40)
• คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และสถานทูตแอฟริกาใต้เปิดตัว “ศูนย์เนลสัน แมนเดล่าเพื่อสันติภาพ”• แนะนำหนังสือ "The Crisis of Democratic Capitalism" ผู้เขียน Martin Wolf หนังสือที่วิเคราะห์ว่าทำไมระบบทุนนิยมประชาธิปไตยในประเทศตะวันตกมีปัญหาและจะแก้ไขอย่างไร
รายการรัฐศาสตร์สู่สังคม วันเสาร์ 11.00 น.
ศาตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู และ ผศ.ดร.ปราณี ทิพย์รัตน์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย