ระเบียบโลกบนทางแพร่ง: มาตรฐานเลือกปฏิบัติของมหาอำนาจในสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ และรัสเซีย-ยูเครน

- รัฐศาสตร์สู่สังคม

รับฟังเสียง


ระเบียบโลกบนทางแพร่ง: มาตรฐานเลือกปฏิบัติของมหาอำนาจในสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ และรัสเซีย-ยูเครน

[1] ระเบียบโลกบนทางแพร่ง: มาตรฐานเลือกปฏิบัติของประเทศมหาอำนาจในสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ และสงครามรัสเซียรุกรานยูเครน (นาที 4)

[2] Trilateral Summit จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ การเริ่มต้นใหม่ในความสัมพันธ์ของประเทศยักษ์ใหญ่ในเอเชีย (นาที 30.35)

[3] ทรัมป์จะถูกตัดสินจำคุกหรือไม่ (นาที 43.50)

[1] ระเบียบโลกบนทางแพร่ง: มาตรฐานเลือกปฏิบัติของประเทศมหาอำนาจในสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ และสงครามรัสเซียรุกรานยูเครน (นาที 4)
แอฟริกาใต้ฟ้องศาลโลกในข้อหาที่อิสราเอลกระทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวปาเลสไตน์ แต่ประเด็นคือประเทศมหาอำนาจมีบทบาทอย่างมากในศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) และศาลโลก (ICJ) แต่กลับไม่สามารถทำอะไรกับเรื่องนี้ จึงเกิดคำถามตามมว่า ในฐานะประเทศมหาอำนาจที่ควรรักษากฎกติกาและระเบียบโลกที่ตัวเองสร้างขึ้น แต่พอมีผลประโยชน์ตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องกลับไม่ทำตาม

• ประเทศมหาอำนาจอ้างว่าอยากสร้างระเบียบโลกที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานกติกา แต่ประเด็นที่กำลังท้าทายคือสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมที่เกิดกับชาวปาเลสไตน์ และการบังคับใช้กฎหมายกับอิสราเอล

• ความแตกต่างระหว่าง ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) กับ ศาลโลกหรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ)

• แอฟริกาใต้ยื่นฟ้องอิสราเอลต่อศาลโลก (ICJ) ท่าทีของอิสราเอลเมื่อศาลโลกมีคำสั่งให้อิสราเอลยุติปฏิบัติการทางทหารในราฟาห์ทันที และท่าทีของสหรัฐต่ออิสราเอล

• มีการยื่นฟ้องเนทันยาฮู ผู้นำอิสราเอลต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC)

• มาตรฐานที่ไม่เท่ากัน เปรียบเทียบตอนฟ้องปูติน (ผู้นำรัสเซีย) กับเนทันยาฮู (ผู้นำอิสราเอล) ในข้อหาอาชญากรสงคราม

• โยงมาถึงประเทศไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต้องเข้าร่วมกับญี่ปุ่น เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ประเทศไทยใช้หลักการอะไรทำให้จอมพล ป. พิบูลสงครามรอดพ้นข้อหาอาชญากรสงคราม

• ดูเหมือนว่าการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศของประเทศมหาอำนาจขึ้นอยู่กับผลประโยชน์แห่งชาติของตนเอง

• แต่ละประเทศสามารถยื่นเรื่องต่อศาลโลกได้หากเห็นว่าประเทศใดละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน
[2] Trilateral Summit จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ การเริ่มต้นใหม่ในความสัมพันธ์ของประเทศยักษ์ใหญ่ในเอเชีย (นาที 30.35)
27 พฤษภาคม 2024 มี Trilateral Summit หรือการประชุมผู้นำระดับสูงระหว่างจีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ หลายฝ่ายมองว่าเป็นการเริ่มต้นใหม่ในความสัมพันธ์ของประเทศยักษ์ใหญ่ในเอเชีย เรื่องนี้สำคัญอย่างไรต่อภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจโลก

วิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 เป็นจุดเริ่มที่ทำให้สามประเทศนี้หันหน้าเข้าหากัน ซึ่งในเรื่องเศรษฐกิจก็พอตกลงกันได้ แต่เรื่องที่ยังคาใจระหว่างกันอยู่คือเรื่องความมั่นคง
[3] ทรัมป์จะถูกตัดสินจำคุกหรือไม่ (นาที 43.50)
• ข้อสังเกตเกี่ยวกับคณะลูกขุนในคดีจ่ายเงินปิดปากดาราหนังผู้ใหญ่ของทรัมป์
• มหาเศรษฐีมอบเงิน 1,000 เหรียญให้แก่บัณฑิตที่จบการศึกษา ค่านิยมการให้กลับคืนสู่สังคมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนรุ่นต่อไป
รายการรัฐศาสตร์สู่สังคม วันเสาร์ 11.00 น. Chula Radio
ศาตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู และ ผศ.ดร.ปราณี ทิพย์รัตน์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัฐศาสตร์สู่สังคม

(Live) รายการ ยิ้มแย้มแก้มใส