ภารกิจสำรวจขั้วโลกใต้ของทีมนักวิจัยไทย ท่ามกลางอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างน่าตกใจ พวกเขาพบอะไรบ้างที่บอกถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อน และทำไมการศึกษาแอนตาร์กติกาจึงสำคัญต่ออนาคตของเรา
• นักวิจัยไทยเดินทางไปสำรวจขั้วโลกใต้ ภายใต้โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (นาที 0.40)
• ความเปลี่ยนแปลงที่ขั้วโลกใต้หลังจาก 11 ปีผ่านไป (นาที 5.15)
• ทำไมขั้วโลกเหนือ-ใต้ สามารถบอกผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ชัดเจน (นาที 8.05)
• โจทย์ของทีมนักวิจัยไทยคือศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อระบบนิเวศ (นาที 10)
• การพบเพนกวินที่ขั้วโลกใต้มากขึ้น และพบเพนกวินบางชนิดมากกว่าชนิดอื่น เรื่องนี้หมายความว่าอย่างไร (นาที 16.55)
• การที่ประเทศไทยส่งนักวิจัยไปสำรวจขั้วโลกใต้ แสดงถึงความสนใจและความรับผิดชอบในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแสดงถึงศักยภาพของนักวิจัยและวิทยาศาสตร์ของไทย (นาที 21)
ผู้ดำเนินรายการ: ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย