ฟุกุชิมะ: 8 ปีแห่งการฟื้นฟูเมืองหลังเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด
3,934 views
0
0
"รศ.ดร.ปฏิภาณ ปัญญาพลกุล ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม อ.ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ"

ฟุกุชิมะ
8 ปีแห่งการฟื้นฟูเมืองด้วยองค์ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี หลังเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดปี 2011

11 มีนาคม ค.ศ. 2011

เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่บริเวณชายฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น คลื่นสึนามิซัดเข้ามาทางภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (โทโฮกุ) ซึ่งเป็นที่ตั้งของ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ

เกิดอะไร? ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ

โดยปกติ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะออกแบบระบบป้องกันความเสียหายที่เข้มงวด

เมื่อเกิดแผ่นดินไหว โรงไฟฟ้าจะมีระบบหยุดการดำเนินการเตาปฏิกรณ์ต่างๆ แต่ถ้าเตาปฏิกรณ์นั้นแตกตัวไปแล้ว จะเกิดปฏิกิริยาต่อเนื่อง ความร้อนในแกนปฏิกรณ์จึงยังร้อนต่อเนื่อง (แม้หยุดการดำเนินการแล้วก็ตาม) ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นต้องทำงานต่อคือ ระบบหล่อเย็น (เพื่อไม่ให้ร้อนเกินไปจนเกิดอันตราย)

สรุป เกิดแผ่นดินไหว >> แม้ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าหยุด >> แต่ระบบหล่อเย็นยังต้องทำงาน

ระบบหล่อเย็นเกิดปัญหา สาเหตุหลักของปัญหา

เคราะห์ร้ายตรงที่ คลื่นสึนามิท่วมระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ทำให้การจัดการระบบความร้อนเกิดปัญหา

นี่จึงเป็นสาเหตุหลักของปัญหา เพราะไม่สามารถลดอุณหภูมิเตาปฏิกรณ์ลงได้

โรงไฟฟ้าระเบิด

เมื่อเตาปฏิกรณ์ร้อนต่อเนื่อง อุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ เกิดการระเบิดของโรงไฟฟ้าตามมา

ผลจากการระเบิด ได้พาสารกัมมันตรังสีเข้าสู่บรรยากาศ ไปตามทิศทางลม

ทิศทางลมสำคัญอย่างไร
แม้จะอยู่ใกล้บริเวณโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ แต่ถ้าไม่อยู่ตามทิศทางลม ก็ค่อนข้างปลอดภัยต่อการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี

การจัดการเฉพาะหน้า รีบทำให้เตาปฏิกรณ์อุณหภูมิลดลง

เมื่อระบบประปาเสียหายจากแผ่นดินไหว จึงใช้น้ำทะเลช่วยในการหล่อเย็น

ปัญหาคือ เชื้อเพลิงที่ได้รับอุณหภูมิสูงมากเกิดการหลอมละลาย หลุดออกจากเตาปฏิกรณ์ น้ำทะเลที่ใช้หล่อเย็นจึงสัมผัสกับสารกัมมันตรังสีโดยตรง ถ้าไม่ผ่านการเก็บกักและบำบัดให้ดี สารกัมมันตรังสีก็จะออกสู่สิ่งแวดล้อมด้วย

[ระบบที่ปกติสมบูรณ์ น้ำจะไม่ได้สัมผัสกับเตาปฏิกรณ์]

โมเดลจำลองโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ
รับฟังข้อมูลจากศูนย์ข้อมูล TEPCO
ฟื้นฟูฟุกุชิมะ

เหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่ฟุกุชิมะ เป็นกรณีศึกษาเรื่องการจัดการภัยพิบัติ

ทุกวันนี้ (แปดปีผ่านไป) การฟื้นฟูเมืองยังไม่จบสิ้น แม้มีหลายคนบอกว่าฟุกุชิมะอันตราย แต่บริเวณที่ปนเปื้อนจริงๆ มีไม่ถึง 10% และห้ามคนทั่วไปเข้าถึง

*ฟุกุชิมะ เป็นจังหวัดใหญ่ลำดับต้นๆ ของประเทศญี่ปุ่น

ศูนย์สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมประจำจังหวัดฟุกุชิมะ

-สำรวจวิจัยและติดตามการปนเปื้อนรังสีในสิ่งแวดล้อม
-ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรังสีในแต่ละวัน
-เปรียบเทียบปริมาณรังสีแต่ละเมืองทั่วโลก

คอมมิวตันฟุกุชิมะ
ดัชนีรังสีจากทั่วโลก
เรียนรู้เรื่องรังสี
เกษตรปลอดภัย

สินค้าเกษตรเป็นของขึ้นชื่อของฟุกุชิมะ ระยะแรกได้รับผลกระทบมหาศาลจากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด
แต่เพราะต้องการเปลี่ยนภาพลักษณ์ สินค้าเกษตรจึงผ่านการตรวจอย่างเข้มงวดทุกอย่าง (ไม่ใช่สุ่มตรวจ) ใช้เกณฑ์ที่สูงกว่าปกติ เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยจริงๆ

ผลิตภัณฑ์เกษตรมีการตรวจสอบเข้มงวด
ท่องเที่ยวสุขใจ

จากการสำรวจ นักท่องเที่ยวที่มาฟุกุชิมะมากสองอันดับแรกคือ ไต้หวันและไทย

รัฐบาลญี่ปุ่นได้พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว Diamond Route Fukushima-Tochigi-Ibaraki
เปิดประสบการณ์ใหม่ ไม่ซ้ำใคร ตามรอยประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ อาหาร วัฒนธรรม

บรรยากาศฟุกุชิมะ
บรรยากาศฟุกุชิมะ

รายการพูดจาประสาช่าง
อ.ดร.ดาว สุวรรณแสง จั่นเจริญ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.ดร.ปฏิภาณ ปัญญาพลกุล ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อ.ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย