ทัศนศึกษาอยุธยา ชุด “อยุธยายามศึก”
2,056 views
0
0

• ประเด็นหนึ่งที่เด่นมากในการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา คือ การรบทัพจับศึก
• ราชวงศ์พม่าที่สู้รบกับกรุงศรีอยุธยามีเพียง 2 ราชวงศ์ คือ ตองอูและคองบอง

อยุธยายามศึก

ประวัติศาสตร์การศึกสงครามกับพม่า อยุธยามักเป็นฝ่ายตั้งรับเสียมากกว่า ยุทธศาสตร์การใช้พระนครเพื่อตั้งรับศึกพม่า สิ่งที่จำเป็นคือ การสร้างป้อมปราการ (ป้องกันยามข้าศึกล้อมกรุง) แนวกำแพงที่ปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรในพระราชพงศาวดาร มีตั้งแต่สมัยรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเป็นต้นมา

ทัศนศึกษาอยุธยา ชุด อยุธยายามศึก

1. แนวกำแพงพระนครจุดสำคัญที่ควรไปชมคือ ป้อมเพชร เป็นหนึ่งในป้อมที่ยังหลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่งรอบเกาะเมืองอยุธยา นักโบราณคดีลงความเห็นว่ามีลักษณะโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก

[ป้อมมหาชัย เป็นป้อมใหญ่อีกแห่ง แต่ไม่มีซากเหลืออยู่แล้ว ในพระราชพงศาวดารตอนเสียกรุง พ.ศ. 2310 กล่าวว่า ยุทธศาสตร์การขุดรากกำแพงของกองทัพพม่าก็เกิดตรงป้อมมหาชัย]

2. วัดสามวิหาร ตั้งอยู่บนเนินดิน ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า กองทัพพม่ารู้ว่าจุดนี้คือจุดยุทธศาสตร์ที่ใช้มองกรุงศรีอยุธยาจากมุมสูงได้ พระเจ้าตะเบงชเวตี้เคยทรงช้างขึ้นไปตรงจุดนั้นเพื่อทอดพระเนตรกรุงศรีอยุธยา

3. เมื่อครั้งสมเด็จพระมหาจักรพรรดิขอเจรจาสงบศึกกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง และต้องยอมให้สมเด็จพระนเรศ หรือสมเด็จพระนเรศวร (ขณะนั้นเป็นพระเจ้าหลานเธอ) เป็นตัวประกันที่หงสาวดี พลับพลาที่ใช้เจรจาหย่าศึกอยู่ที่ วัดหัสดาวาส

4. จุดที่เป็นสนามรบ ส่วนใหญ่อยู่ทางเหนือของเกาะเมือง มีทุ่งใหญ่สามทุ่งที่กองทัพพม่าใช้ปักหลักตั้งค่ายและเป็นที่ปะทะกันด้วย
ทุ่งลุมพลี
ทุ่งภูเขาทอง (มีเจดีย์ภูเขาทอง สามารถขึ้นไปชมอาณาบริเวณได้)
ทุ่งมะขามหย่อง (เป็นที่เกิดสงครามคราวเสียพระสุริโยทัยด้วย)

5. เพนียดคล้องช้าง ช้างเป็นยุทธปัจจัยสำคัญ จึงมีการคล้องช้าง (จับช้าง) มาใช้ในราชการและการสงคราม

6. วัดพิชัย เป็นตำแหน่งที่พระยาวชิรปราการนำกองกำลัง 500 คน ฝ่าวงล้อมกองทัพพม่า มุ่งไปเมืองจันทบูร ภายหลังก็ได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยาจนสำเร็จ และปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสิน)

ป้อมเพชร | ภาพ: https://ww2.ayutthaya.go.th/

รายการไทยศึกษา
อ.วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรม ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย