ประเพณีการรับราชทูตตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ (ตอนที่ 1)
_____________
รายการไทยศึกษา
อ.วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรม ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.
ในยุคก่อนสมัยใหม่ กิจกรรมทางการทูต หรือ การส่งตัวแทนของอำนาจรัฐนั้นๆ หรือคณะทูต ไปยังประเทศที่ไทยมีความสัมพันธ์ด้วย ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก การแลกเปลี่ยนคณะทูตจะต้องมีระเบียบแบบแผนพิธีการทูต โดยแต่ละประเทศจะต้องมีข้อตกลงร่วมกัน หรือมีการศึกษาประเพณีซึ่งกันและกัน
ในสมัยอยุธยา ไทยต้องแต่งทูตไปถวายบรรณาการกับประเทศจีน เพื่อให้จีนยอมรับสถานะการปกครองของกษัตริย์ไทย เพื่อให้ไทยสามารถทำการค้าขายกับจีนได้
นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ไทยมีความสัมพันธ์กับประเทศทางตะวันตก และแขกจากเปอร์เซียและตะวันออกกลางมากขึ้น โดยแบบแผนทางการทูตที่เกิดขึ้น รวมเรียกว่า “ประเพณีการรับราชทูต”
ซึ่งเริ่มจากการติดต่อกันอย่างไม่เป็นทางการ เช่น มีการส่งพ่อค้า หรือบาทหลวง เข้ามาติดต่อกับหน่วยงานของไทย คือ เจ้าพระยาพระคลัง เมื่อติดต่อเรียบร้อยแล้ว ทูตจากต่างประเทศจะเดินทางมาเข้าเฝ้ากษัตริย์ไทย โดยไทยจะเตรียมการรับทูตถึงเมืองสมุทรปราการ โดยมีตึกพักราชทูตสำหรับต้อนรับทูตโดยเฉพาะ
เมื่อเรือทูตมาถึง ไทยจะส่งเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ออกไปต้อนรับ เรียกว่า “กระบวนการทักทูต” โดยไทยจะมีการเตรียมอาหารพื้นเมืองไปแนะนำให้กับทูตด้วย ซึ่งหากเป็นฝั่งของไทยไปติดต่อทางการทูตกับประเทศอื่นก็จะได้รับการต้อนรับในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.prachachat.net/d-life/news-143737
-----------------------------------------------------
สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่...
ประเพณีการรับราชทูตตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ (ตอนที่ 1)
รายการ ไทยศึกษา
ผู้ดำเนินรายการ: อ.วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิทยากร: ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรม ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย