ความเป็นมาและความสำคัญของ "สามก๊ก" ในแผ่นดินสยาม
19,512 views
0
0

สามก๊ก
• รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) แปลและเรียบเรียง "สามก๊ก" จากพงศาวดารจีน (ต้นฉบับภาษาจีน) เป็นภาษาไทย แต่ผู้รู้เรื่องสามก๊กทั้งสองสำนวนกล่าวว่า สามก๊กในสำนวนไทยบางตอนแตกต่างจากต้นฉบับภาษาจีน

• สมัยรัชกาลที่ 1 เป็นยุคสมัยแห่งการฟื้นฟูวรรณคดีมรดกของบ้านเมืองที่สูญหายไปจากภัยสงครามในคราวเสียกรุงศรี พ.ศ. 2310 ขณะเดียวกันก็มีการสร้างสรรค์วรรณคดีใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นด้วย

• เชื่อกันว่าคนไทยอาจรับรู้เรื่อง "สามก๊ก" มาก่อนต้นรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้เพราะความสนใจใฝ่รู้เรื่องราวบ้านเมืองต่างๆ ของคนชนชั้นนำมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และต้องไม่ลืมว่ารัชกาลที่ 1 หรือแม้แต่เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ก็เป็นคนจากสมัยกรุงศรีอยุธยา

• สามก๊กไม่ได้เป็นที่นิยมในสยามประเทศเท่านั้น บ้านเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการแปลสามก๊กเป็นภาษาตนเองทั้งสิ้น และเป็นวรรณกรรมสำคัญประจำหอสมุดหลวง

• วัตถุประสงค์เมื่อแรกของการให้แปลสามก๊กของรัชกาลที่ 1 คือ ต้องการให้เจ้านายหรือข้าราชการอ่านเพื่อเป็นคู่มือประเทืองปัญญาในการปฏิบัติราชการ เนื่องจากหากพิจารณาเหตุการณ์หลักในสามก๊ก แม้เป็นเรื่องสงครามการรบทัพจับศึก แต่ก็แฝงไว้ด้วยชั้นเชิง การวางแผน กลอุบายแพรวพราว ต้องไม่ลืมว่าสังคมไทยในเวลานั้นอยู่ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ยังมีภัยสงครามคุกคามจากพม่า

รายการไทยศึกษา
อ.วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรม ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย