-ขวัญ (ที่อยู่ประจำตัว) ในคติความเชื่อของคนไทย เกี่ยวข้องกับ ของขวัญ ได้อย่างไร
-ทำไมคำว่าของขวัญ จึงมีคำว่าขวัญอยู่ในนั้น
-ขวัญ กับ ของขวัญ เชื่อมโยงคติความเชื่ออะไรของคนไทยไว้ด้วยกัน
-ขวัญ (ที่อยู่ประจำตัว) ในคติความเชื่อของคนไทย เกี่ยวข้องกับ ของขวัญ ได้อย่างไร
-ทำไมคำว่าของขวัญ จึงมีคำว่าขวัญอยู่ในนั้น
-ขวัญ กับ ของขวัญ เชื่อมโยงคติความเชื่ออะไรของคนไทยไว้ด้วยกัน
ขวัญ ในคติความเชื่อดั้งเดิมของคนไทยแต่โบราณ
หมายถึง ที่ตั้งแห่งสติ การรับรู้ สัมปชัญญะ
คนไทยถือว่าขวัญเป็นสิ่งสำคัญ เป็นสิ่งที่อยู่สูง อยู่ประจำตัวเรา หากเกิดมีเหตุเภทภัย ทำให้ขวัญไม่อยู่กับตัว ที่เรียก ขวัญกระเจิง ขวัญหาย ขวัญหนีดีฝ่อ จึงต้องมีการเรียกขวัญกลับมา ด้วยการทำพิธีรับขวัญเพื่อให้ดำรงคงสติไว้เหมือนเดิม แต่ถ้าเรียกขวัญกลับมาไม่ได้ นั่นหมายถึง ถึงแก่ชีวิตหรือสติไม่สมบูรณ์
คำว่า ของขวัญ ในคำเก่าของไทยแต่เดิม ไม่ได้เรียกสองพยางค์อย่างทุกวันนี้ แต่เรียก ของทูลขวัญ ของสู่ขวัญ ของทำขวัญ ของปลอบขวัญ เข้าใจได้ว่า เมื่อเวลาผ่านไป คำน่าจะกร่อนเหลือแต่ของขวัญอย่างเดียว
ถ้าพิจารณาจากคำดั้งเดิม การให้ของสู่ขวัญ ของปลอบขวัญ ของรับขวัญ บ่งบอกว่า ขวัญในตัวคนๆ นั้นกำลังมีปัญหา
แต่เป็นโอกาสที่แสดงว่า เมื่อประสบเหตุอันทำให้ขวัญหาย การปลอบขวัญด้วยข้าวของ แง่หนึ่งเพื่อเตือนให้ระลึกถึงมิตรภาพ ความห่วงใจระหว่างกัน เพื่อให้ผู้ที่ได้รับของปลอบขวัญเกิดความสุขทางใจผ่านของที่ชอบ ของที่เป็นสิริมงคล เป็นการเรียกขวัญกลับมา
ขวัญ จึงเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียกว่า ของขวัญ ซึ่งเป็นของที่เราให้ในโอกาสสำคัญ ไม่เพียงแต่วันปีใหม่เท่านั้น ที่สำคัญเราจะไม่ให้ของที่ทำลายขวัญ ทำลายน้ำใจแก่ผู้ที่ได้รับ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่เรียกว่าการให้ของขวัญ เพราะของขวัญเป็นการให้ด้วยความมุ่งดี ประสงค์ดี
รายการไทยศึกษา
วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรม ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย