ธรรมเนียมการรับประทานอาหารฝรั่งในสังคมไทย
การรับประทานอาหารฝรั่งในสังคมไทย มาได้อย่างไร
ธรรมเนียมการรับประทานอาหารฝรั่งในสังคมไทย
การรับประทานอาหารฝรั่งในสังคมไทย มาได้อย่างไร
คนไทยรู้จักอาหารฝรั่งตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อคราวเริ่มติดต่อกับฝรั่ง
ครั้งกระนั้น อาหารฝรั่งที่เป็นของคาวไม่เป็นที่นิยมเท่าของหวาน
เหตุเพราะมีบุคคลสำคัญคนหนึ่งสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย (ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาและสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ) ปรากฏชื่อ 'ท้าวทองกีบม้า' ทำหน้าที่กำกับห้องเครื่องหวานในวัง ได้เผยแพร่อาหาร (หวาน) ที่ได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก โดยเฉพาะขนมเครื่องไข่ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมแป้ง (หรือเค้ก ต่อมาคนไทยตัดเนยออกไป)
เมื่อพิจารณาจากบัญชีพระกระยาหารของพระเจ้าอยู่หัวสามรัชกาลแรกสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พบแต่อาหารที่เป็นอิทธิพลจากจีนและแขก แต่ไม่พบเมนูอาหารฝรั่ง
กระทั่งสมัยรัชกาลที่ 4 สยามต้องเปิดประเทศ เพื่อปฏิรูปบ้านเมืองบนพื้นฐานวัฒนธรรมตะวันตก เข้าใจว่าอาหารฝรั่ง (อาหารคาว) น่าจะได้รับความนิยมในช่วงเวลานี้
มีหลักฐานว่า ตลอดรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานเลี้ยงโต๊ะทูตานุทูตและชาวตะวันตกอยู่เนืองๆ
สมัยรัชกาลที่ 5 นอกจากปรากฏอาหารฝรั่งในบัญชีพระกระยาหารแล้ว การรับประทานอาหารฝรั่งในราชสำนักกลายเป็นค่านิยมหรือแฟชั่น ขยายไปสู่ขุนนางและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ก่อนจะออกนอกรั้วนอกวังไปสู่ราษฎร
รายการไทยศึกษา
อ.วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรม ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย