ไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัย ทำไมนวนิยายหรือละครข้ามภพข้ามชาติยังคงขายได้และได้รับความนิยมในสังคมไทย
ทำไมแนวคิดเรื่องข้ามภพข้ามชาติผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทย
นวนิยายข้ามภพข้ามชาติ = การเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับการกลับชาติมาเกิดของตัวละคร
ไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัย ทำไมนวนิยายหรือละครข้ามภพข้ามชาติยังคงขายได้และได้รับความนิยมในสังคมไทย
ทำไมแนวคิดเรื่องข้ามภพข้ามชาติผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทย
นวนิยายข้ามภพข้ามชาติ = การเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับการกลับชาติมาเกิดของตัวละคร
สังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่ภายใต้หลักคิดของพระพุทธศาสนาที่สอนเรื่องหลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด เรื่องภพชาติ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงปฏิเสธสิ่งนี้ และทรงย้ำว่าเราทุกคนล้วนผ่านการเกิดการตายมานับชาติไม่ถ้วน ตั้งแต่เป็นสัตว์เดรัจฉานขึ้นไปเป็นมนุษย์ อสุรกายหรือเทวดา ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของกรรมจนกว่าจะบรรลุธรรมขั้นสูงนั่นคือการหลุดพ้นหรือนิพพาน
ก่อนหน้าที่คนไทยจะสร้างบ้านแปงเมืองบนดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน ผู้คนที่อาศัยอยู่ก่อนหน้าในดินแดนแถบนี้ไม่ใช่ไม่มีความเชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิด
ในหลุมฝังศพโดยเฉพาะคนมีฐานะสำคัญทางสังคมจะพบข้าวของเครื่องใช้ เครื่องประดับ แม้กระทั่งการฆ่าคนและสัตว์ให้ตามไปเป็นบริวารในโลกหน้า
แม้แต่ก่อนหน้าที่คนไทยจะรับพุทธศาสนาเข้ามา คนมอญ คนเขมร คนละว้าก็รับพุทธศาสนาเข้ามาก่อนหน้านั้นแล้ว ทำให้คติเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดซึ่งเป็นพลังจากกรรม ติดอยู่ในโลกทัศน์ของผู้คนในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันสืบมา
นวนิยายแนวข้ามภพข้ามชาติ เรื่องจะเกิดไม่ได้เลยถ้าไม่มี "การอาฆาตมาดร้าย" ตัวละครตั้งจิตอธิษฐาน จองเวร เพื่อให้กลับมาพบกันและชดใช้กรรมต่อกัน
แม้แต่รามเกียรติ์ (มาจากมหากาพย์รามายณะของอินเดีย) เรื่องก็เริ่มต้นจากนนทก (ต่อมาคือทศกัณฐ์) อาฆาตพระนารายณ์ (ต่อมาคือพระราม)
รศ.ดร. คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ (นามปากกา แก้วเก้า ว.วินิจฉัยกุล) มีผลงานนวนิยายแนวข้ามภพข้ามชาติหลายเรื่อง เช่น แต่ปางก่อน เรือนมยุรา เรียกได้ว่าเป็น signature ของท่าน
ครั้งหนึ่งเคยกล่าวถึงแรงบันดาลในการแต่งนวนิยายแนวนี้ว่า ท่านมองเห็นสิ่งที่เป็นหัวข้อธรรมะสำคัญในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า แสดงให้เห็นถึงเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด นั่นคือ "ปฏิจจสมุปบาท" ถ้าเข้าใจหลักการจะพบว่าทำไมความเชื่อเรื่องภพชาติจึงอยู่ในการรับรู้ของคนไทย
ปฏิจจสมุปบาท
คือหัวข้อธรรมะที่อธิบายการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมหรือปรากฏการณ์ทั้งหลายซึ่งเป็นเหตุปัจจัยที่อาศัยกัน การที่ปัจจัยทั้งหลายอาศัยกันทำให้เกิดสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะการเวียนว่ายตายเกิด ปัจจัยในปฏิจจสมุปบาทมี 12 ปัจจัยที่เป็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นสืบเนื่องกัน
พระพุทธเจ้าสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทในมุมกลับ ถ้าต้องการหยุดไม่ให้เกิดต่อเนื่องก็ต้องย้อนกลับไปตัวที่เป็นผลเพื่อดับตัวที่เป็นเหตุ ดับต่อเนื่องกันไป ท้ายที่สุดถ้าดับอวิชชาได้ก็ไม่มีสังขาร นำไปสู่การหลุดพ้นหรือบรรลุนิพพาน
รายการไทยศึกษา
อ.วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรม ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย