สงสัยไหมว่าทำไมแต่ละจังหวัด เราจึงพบชื่อวัดซ้ำๆ กัน
การตั้งชื่อวัดซ้ำกัน เป็นเพราะอะไร
สงสัยไหมว่าทำไมแต่ละจังหวัด เราจึงพบชื่อวัดซ้ำๆ กัน
การตั้งชื่อวัดซ้ำกัน เป็นเพราะอะไร
1. วัดที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์หรือเจ้าขุนมูลนาย
สังเกตได้จากชื่อวัดเพราะพริ้ง ส่วนใหญ่เป็นภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น วัดมหาธาตุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐาน วัดมเหยงคณ์ วัดพระเชตุพน
ชื่อวัดเหล่านี้เป็นลักษณะการตั้งชื่อในประเพณีหลวงของชนชั้นปกครอง คติการสร้างเมืองใหญ่หรือราชธานีต้องมีการสร้างวัดอันเป็นมงคลนามแก่บ้านเมือง
รัชกาลที่ 4 ยังถือเป็นพระราชนิยมว่าในราชธานีต้องมีชื่อ 3 วัดนี้ ได้แก่ วัดพระมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐ์
2. การตั้งชื่อวัดระดับชาวบ้านหรือราษฎร
ตั้งชื่อวัดตามที่ตั้ง หรือลักษณะเด่นตามพื้นที่ เช่น วัดลาดพร้าว วัดลาดชะโด วัดลาดปลาเค้า วัดบางบัว วัดโตนด วัดเสม็ด วัดไทร
นอกจากนี้คนไทยสมัยโบราณนิยมตั้งบ้านเรือนริมน้ำ แม้มีการตั้งชื่อวัดเดียวกันในแถบคุ้งน้ำ แต่ก็ใช้ทิศทางเป็นตัวบอก เช่น วัดบางยี่เรือเหนือ วัดบางยี่เรือกลาง วัดบางยี่เรือใต้
วัดที่ตั้งชื่อตามแบบชาวบ้านและปรากฏทั่วทุกภูมิภาคของไทย
รัชกาลที่ 5 ทรงเคยตั้งข้อสังเกตในพระราชหัตถเลขาว่า การตั้งชื่อวัด สว่างอารมณ์ คงเป็นอุบายของคนไทย เพราะชื่อเป็นมงคล เข้าไปแล้วอารมณ์ก็สว่างไสว เกิดปัญญา ชื่อวัดแบบนี้ใครก็นิยมนำไปใช้
รายการไทยศึกษา
อ.วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรม ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย