ราชสีห์ในศิลปะไทย
3,604 views
0
0
"ราชสีห์ในศิลปะไทยอันเป็นงานชิ้นเอก พบได้ที่ใดบ้าง"

สิงห์หรือราชสีห์ เป็นสัตว์ในเทพนิยาย ไม่มีตัวตน
เข้าใจว่าคนอินเดียโบราณได้แบบของราชสีห์มาจากสิงโตในธรรมชาติ

อินเดียมีสิงโตด้วยหรือ

มีหลักฐานว่าประมาณพันปีล่วงมาแล้ว ดินแดนแถบเอเชียใต้ เปอร์เซีย เมโสโปเตเมีย ไปจนถึงทวีปแอฟริกา เป็นถิ่นที่อยู่ของสิงโต ปรากฏในรูปสลักโบราณ คนสมัยก่อนเชื่อว่าสิงโตเป็นสัตว์ที่มีพละกำลัง เป็นใหญ่เหนือบรรดาสัตว์ทั้งหลายในป่า

คนอินเดียโบราณจึงกำหนดให้พญาราชสีห์เป็นใหญ่เหนือสัตว์ทั้งหลายในป่าหิมพานต์

สิงห์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ด้วยความที่ดินแดนเอเชียตะออกเฉียงใต้ไม่มีสิงโตเป็นต้นแบบ ช่างจึงต้องจินตนาการหน้าตาเอาเอง ในภูมิภาคนี้ถ้าเทียบกันแล้ว ช่างโบราณชาวชวาจินตนาการพญาราชสีห์ได้ใกล้เคียงอินเดียที่สุด (มีขนคอ)

สิงห์ไทย

งานศิลปะไทยไม่ว่าแขนงใด ปรากฏรูปสิงห์เกี่ยวข้องมากมาย นอกจากได้รับอิทธิพลจากสิงห์เขมรแล้ว ส่วนหนึ่งเกิดจากการจินตนาการของช่างโบราณของไทย (แม้ว่าหน้าตาห่างไกลจากสิงโตไปมาก)

สิงห์หรือราชสีห์แบบไทย พบได้ตรากระทรวงมหาดไทย ตราประจำคณะรัฐศาสตร์ กฎหมายตราสามดวง ขวดโซดา

ราชสีห์-คชสีห์

คนไทยโบราณถือว่าราชสีห์ (สิงโต) และคชสีห์ (สิงโต+ช้าง) เป็นสัตว์ที่มีมหันตเดช (มีอำนาจมาก)

ตั้งแต่สมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นตราประจำตำแหน่งอัครเสนาบดี
ราชสีห์ - อัครเสนาบดีที่สมุหนายก สืบต่อมาเป็นกระทรวงมหาดไทย
คชสีห์ - อัครเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม

ราชสีห์ของไทยเป็นลายกนก แสดงถึงความอ่อนช้อยของช่างไทย ทำให้ดูนุ่มนวลมากกว่าราชสีห์เหี้ยมหาญอันมีมหันตเดช

"สิงห์ดำ" สัญลักษณ์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายการไทยศึกษา
อ.วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรม ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย