หนูในวัฒนธรรมไทย
คนไทยแต่ครั้งโบราณมองหนูว่าเป็นอย่างไร
หนูในวัฒนธรรมไทย
คนไทยแต่ครั้งโบราณมองหนูว่าเป็นอย่างไร
คนไทยโบราณไม่ได้มองหนูเป็นพาหะนำโรคอย่างคนปัจจุบัน หนูไม่ใช่สัตว์น่าเกลียดน่ากลัว แม้จะพบเห็นหนูในบ้านเรือน แต่หนูตัวเล็ก ไม่เป็นพิษเป็นภัย ถ้าเจ้าของเรือนรำคาญก็เพียงแค่เอาแมวมาเลี้ยง
• ปีชวด (หนู) เป็นปีนักษัตรแรก คำว่า ชวด เป็นภาษาเขมร
• ในคำไทย หนู ใช้เป็นคำสรรพนามบุรุษที่ 1 (เรียกแทนตัวเองว่าหนู) หรือสรรพนามบุรุษที่ 2 (ใช้เรียกเด็กหญิงหรือชาย)
• ในวัฒนธรรมไทย เกิดศัพท์คำหนึ่งที่หมายถึงองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของบ้านเรือน โบสถ์วิหาร อาคารทรงไทย เป็นส่วนของเครื่องบน เชื่อมต่อโครงกับหลังคา เรียกว่า สะพานหนู เกิดจากการสังเกตของคนโบราณว่า ส่วนประกอบตรงนี้ของหลังคา หนูมักจะใช้เดินไปเดินมา
• เรื่องของ หนู ที่ถูกบันทึกในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยา
• สำนวนไทยเกี่ยวกับ หนู เช่น แมวไม่อยู่ หนูระเริง
• คติความเชื่อในพุทธศาสนาก็ปรากฏ หนู
• พระพิฆเนศมีพาหนะเป็น หนู
.
รายการไทยศึกษา
อ.วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรม ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย