หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์
• พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ในวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร นอกตัวเมืองสุพรรณบุรีออกไปทางทิศตะวันตก ในคติทางพุทธศาสนา การวางผังเมืองทางทิศตะวันตกของเมืองถือว่าเป็นเขตอรัญญิก (พระป่า พระวิปัสสนา)
• เมืองสุพรรณบุรี เป็นเมืองโบราณตั้งแต่สมัยทวารวดี ซึ่งวัฒนธรรมทวารวดีรับวัฒนธรรมคุปตะของอินเดีย มีผลงานสำคัญคือ ถ้ำอชันตา
• พระพุทธรูปที่นิยมสร้างเป็นพระประธานในวัฒนธรรมทวารดีคือ พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์จะแสดงปางที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรม
• พุทธลักษณะของหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ แต่นักวิชาการหลายท่าน รวมถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงความเห็นว่าน่าจะมีการดัดแปลง ไม่ได้เป็นปางป่าเลไลยก์ตั้งแต่ตอนสร้าง (สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยทวารดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-12) ก่อนจะถูกดัดแปลงเป็นปางป่าเลไลยก์ในสมัยอยุธยา
• เมื่อพิจารณาพุทธลักษณะ นักประวัติศาสตร์ศิลปะเปรียบเทียบหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี กับพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทอีกองค์หนึ่ง ซึ่งสร้างขึ้นร่วมสมัยเดียวกับวัฒนธรรมทวารดี นั่นคือ หลวงพ่อโตเล่อซาน ประเทศจีน