ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า การดำเนินการจัดการขยะอิเล็กทรอกนิกส์ และของเสียอันตรายชุมชน เพื่อสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

- ข่าวต้นชั่วโมง


รองศาสตราจารย์ ดร.สุธา ขาวเทียร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับสถานีวิทยุจุฬาฯถึงการดำเนินการจัดการขยะอิเล็กทรอกนิกส์ และของเสียอันตรายชุมชน ว่า แผนงานจัดงานวิจัยในครั้งนี้ได้รับความสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช.โดยดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วในระยะที่ 1 และได้รับทุนสนับสนุนจาก วช.ต่อเนื่องในระยะที่ 2 และการประเมินอัตราการเกิดขยะในประเทศไทย โดยวัตถุประสงค์ของแผนงานวิจัย เพื่อศึกษาวงจรและการจัดทำระบบฐานข้อมูลการผลิตภัณฑ์และซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และของเสียอันตราย รวมถึงพัฒนารูปแบบการจัดการรวบรวมและขนส่ง พัฒนาแนวทางและรูปแบบในการเสริมสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้ทรัพยาการอย่างคุ้มค่า โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และวิจัยและพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อลดผลกระทบจากพื้นที่เสี่ยง

โดยการดำเนินงานในระยะต่อไปเตรียมความพร้อมให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ในมิติต่าง ๆ ที่ครอบคลุมมากขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า การจัดการของเสียอันตรายในชุมชน ได้ใช้การวิเคราะห์ผ่านการไหลของเสียเข้ามาเป็นตัวที่ทำให้เห็นภาพรวมของขยะชุมชนในประเทศ โดยหลังจากนี้จะต้องศึกษาหากต้องการใช้ขยะให้เป็นวัตถุดิบรูปแบบใหม่ จะกลับมาใช้ได้หรือไม่ ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาขยะนั้น ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวต้องจะต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะภาคประชาชนหากรู้จักวิธีการจัดการคัดแยกขยะจะสร้างมูลค่าของขยะได้มากขึ้น รยวมถึงรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

รับฟังเสียง
0 results

(Live)